ดร. ธนาธิป ลิ่มนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทีมวิจัย เดินทางไปทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย Universitas Islam Negeri Sultan Syarif Kasim Riau (UNI SUSKA RIAU) ที่จังหวัด Riau ประเทศ อินโดนีเซีย ในระหว่างวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2566 โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากทุุน Fundamental Fund ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีพ.ศ. 2565-2566
ทีมวิจัย ประกอบด้วย ผศ.ดร. ระชา เดชชาญชัยวงศ์ หัวหน้าโครงการ ศ.ดร. พีระพงศ์ ฑีฆสกุล และดร. ธนาธิป ลิ่มนา นักวิจัย และผู้ช่วยวิจัย เริ่มต้นด้วยการร่วมพิธีลงนาม MOA ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Faculty of Science and Technology, UIN SUSKA RIAU หลังจากนั้น จึงเยี่ยม Lab ของทีมวิจัยประเทศอินโดนีเซีย และจัดอบรมการใช้งานเครื่องมือในการวิจัยที่ติดตั้งในประเทศอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ดร. ธนาธิปยังได้ตรวจเช็คอุปกรณ์ low-cost sensor ที่พัฒนาขึ้นสำหรับติดตามฝุ่นที่ประเทศอินโดนีเซียด้วย เพื่อเตรียมรับมือ Haze in Lower SEA ในปี พ.ศ. 2566 หรือ ค.ศ. 2023 นี้
ทีมวิจัยได้นำองค์ความรู้ที่ทำงานวิจัยร่วมกันตลอด 1 ปีกว่าๆ หารือกับทางทีมวิจัยของอินโดนีเซีย และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของมลพิษทางอากาศ นอกจาก PM 2.5 แล้ว ยังมี PM 0.1 ด้วยที่มีผลต่อสุขภาพมากกว่า และทีมวิจัยยังมีแนวคิดที่จะช่วยให้ทีมวิจัยฝั่งอินโดสามารถพัฒนา low cost sensor ขึ้นมาใช้เองได้อีกด้วย นับเป็นอีกก้าวสำหรับ air pollution monitoring ในภูมิภาคนี้ และเป็นโครงการสำหรับการเฝ้าระวัง regional transboundary haze ร่วมกัน โดยเริ่มต้นการเสริมกำลังด้านวิชาการให้กับชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนร่วมกัน เพื่อให้สามารถช่วยกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศระดับอาเซียนได้ในอนาคต
ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่บริเวณ burned peatland area และพบว่าสาเหตุและสถานการณ์ไม่แตกต่างจากประเทศไทยมากนัก โดยสาเหตุเกิดจากมนุษย์เป็นหลัก และเสริมด้วยความรุนแรงของภัยแล้ง
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้ร่วมพิธีลงนาม MOU ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ Universitas of Raiu (UNRI) เพิ่มขึ้นอีก 1 ฉบับ
ผศ. ธัชชัย เอ้งฉ้วน อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา" ครั้งที่ 42 หรือ 42nd Workshop on UniNet Network and Computer Application (WUNCA 42nd) ในระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา พร้อมกันนี้ บุคลากรสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายรุ่งโรจน์ แซ่จุ้ง วิศวกร (ผู้ดูแลระบบเครือข่าย & ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการซอฟต์แวร์) และนายพิพัฒน์ พิพิธพัฒนพงศ์ นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ดูแลระบบ) ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวด้วยเช่นกัน
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศิษย์เก่าร่วมจัดงาน Bar Camp Songkhla ครั้งที่ 7 เพื่อสร้าง local community ที่ดีจะช่วยส่งเสริมชุมชนนักพัฒนาและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของภาคใต้ โดยเป็นงานที่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์รวมตัวกันมากที่สุดในภาคใต้ เพื่อมาแชร์ประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้กัน ในวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2566 ณ ตึก LRC ชั้น 8 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 9.30 - 10.00 น. กิจกรรมในงาน 10.00-17.30 น.
ผู้รับผิดชอบโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน แซ่ว่อง
การประชาสัมพันธ์:
กำหนดการ:
ตารางหัวข้อพูดคุย:
คัดเลือกโดยระบบลงคะแนนเลือกหัวข้อที่สนใจ (Voting System)
บรรยากาศในงาน:
ทีมงานและ Speakers:
Pupa and R202
สปอนเซอร์:
- บริษัท ซคูลเมท เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
- บริษัท ที.ที.ซอฟแวร์ โซลูชั่น จำกัด
- บริษัท เทเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด
- บริษัท เน็กซ์ฮอป จำกัด(สำนักงานใหญ่)
- บริษัท บนเมฆ จำกัด
- บริษัท เปาคลาวด์ จำกัด
- บริษัท โลเร็มบอร์ด จำกัด
- บริษัท อัลกอริตี้ จำกัด
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (EILA) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีอผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปัญญยศ ไชยกาฬ เนื่องในโอกาสที่สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีมติอนุมัติการแต่งตั้งรองศาสตราจารย์ ในคราวประชุมครั้งที่ 430(1/2566) เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566
โดยมีตำแหน่งเป็น รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (รหัส 1115) ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ เรืองพีระกุล อาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นำเสนองานวิจัยแบบ Poster เรื่อง Optimization of Reaction Parameters Influences on Production of Bio-oil from Fast Pyrolysis of Oil Palm Empty Fruit Bunch Biomass in a Fluidized Bed Reactor ที่งานประชุมทางวิชาการ The IIER International Conference - 2022 ที่เมือง Hamilton ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2565
คุณโกสินทร์ พัตรานนท์ วิศวกรอาวุโส (Senior Engineer) จาก Technical Training Group, Software Development Department, Toyota Tsusho Nexty Electronics (Thailand) Co. Ltd. หารือความร่วมมือในโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ของฝ่ายฝึกอบรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ กับทีมบริหารสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รศ.ดร. พิชญา ตัณฑัยย์ หัวหน้าสาขาวิชา และผศ.ดร. ปัญญยศ ไชยกาฬ รองหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และประธานหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร. มนตรี กาญจนเดชะ ในวันที่่ 15 ธันวาคม 2565