โครงการเสริมสร้างและ ยกระดับทักษะบุคลากรด้าน Data Engineering ภายใต้การสนับสนุน DEPA Digital Manpower Fund
สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
เนื้อหาการอบรม
1. Introduction to Data Engineering
2. Relational database / NoSQL / Data Warehouse Concept
3. Basic ETL and data cleansing
4. Cloud data storage and backup process
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน
- บุคลากรจากหน่วยงานรัฐ/ รัฐวิสหากิจ โดย 1 หน่วยงาน ส่งได้ไม่เกิน 5 คน
- ผู้เข้าร่วมต้องมีความรู้เรื่องฐานข้อมูล และทักษะภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษาใดก็ได้) โดยผ่านการสอบคัดเลือกเบื้องต้นแบบ online
- ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรม ต้องวางมัดจำ คนละ 1,000 บาท โดยโครงการจะคืนให้เมื่อเข้าครบ 80% และร่วมการสอบเพื่อวัดผลการอบรม
- ได้รับ certificate of Participation เมื่อเข้าร่วมครบตามระยะเวลา 80% และCertificate of Achievement เมื่อมีผลสัมฤทธิ์ไม่น้อยกว่า 70% ตามเกณฑ์ประเมินสนใจเข้าอบรม
กิจกรรม |
วันที่ และ รูปแบบ |
รับสมัครผู้สนใจเข้ารับการอบรมผ่านระบบออนไลน์ |
บัดนี้ – 15 มิถุนายน 2564 |
สอบออนไลน์เพื่อคัดเลือกผู้เข้าอบรม |
19 – 20 มิถุนายน 2564 |
ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรม |
ภายในวันที่ 27 มิถุนายน 2564 |
อบรมจริง ผ่านระบบ online |
เฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น. |
ทดสอบวัดความสัมฤทธิ์และคืนเงินมัดจำ |
18 – 24 กรกฎาคม 2564 |
ส่งประกาศนียบัตร certificate of Participation และ/หรือCertificate of Achievement ตามเงื่อนไขที่กำหนด |
สิงหาคม 2564 |
วัตถุประสงค์โครงการเพื่อเสริมสร้างและยกระดับความรู้และทักษะในด้าน Data Engineer ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีสมรรถนะและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง
-
เป้าประสงค์ของการอบรม
1. เพื่อเรียนรู้และเข้าใจพื้นฐานเรื่องวิศวกรรมข้อมูล การให้บริการข้อมูล หลักการการกำกับดูแลข้อมูลและระบบคลังข้อมูล
2. เพื่อให้สามารถติดตั้งและตั้งค่าพื้นฐานสำหรับระบบฐานข้อมูลได้
3. เพื่อให้สามารถทำงานในขั้นตอนของกระบวนการ ETL และกระบวนการ Backup ข้อมูลคะแนนในการสอบ (Quiz)
คิดเป็น 70%
คะแนนแบบฝึกหัด (Assignment)
คะแนน Post-test
คิดเป็น 30%
ประโยชน์ที่จะได้รับ
ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร เสริมสร้างวิสัยทัศน์ภายใต้กรอบเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานขององค์กร
ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆในสังคมยุคดิจิทัล และได้แนวคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคดิจิทัล
ผู้เข้าอบรมสร้างเครือข่ายด้าน IT ระหว่างกัน ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประสานการทำงานและกำหนดนโยบายของหน่วยงานในลักษณะบูรณาการร่วมกัน
การมอบใบประกาศนียบัตร/หนังสือรับรองการเข้าอบรม
มี 2 ประเภทคือ
1) Certificate of Participation
o ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาจัดกิจกรรมทั้งหมด
2) Certificate of Achievement
o ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาจัดกิจกรรมทั้งหมด และได้คะแนนในการประเมินผลการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70