สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกัน บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ได้จัดการแข่งขัน Cyber Warrior Hackathon 2025 โดยรอบแรก จัดการแข่งขันไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2568 และ รอบ 2 รอบรับข้อเสนอโครงการ ประกาศผลในวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 ในรูปแบบออนไลน์และผลจากการแข่งขัน ปรากฎว่า ทีม SoftShells และ Lazy ToPatch ซึ่งเป็นทีมนักศึกษาสังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ (รอบ 3) โดยมีกำหนดการแข่งขัน ในระหว่าง วันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สยามพารากอน กรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ทีม T063 SoftShells
- นางสาวซิลมีย์ ปะหนัน รหัสนักศึกษา 6510110116 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายป่าปัญญา สิริวัฒนาวรกุล รหัสนักศึกษา 6510110274 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นางสาวภูริชฐญา ขุนแดง รหัสนักศึกษา 6510110365 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นางสาวสินายน์ สุนทร รหัสนักศึกษา 6510110492 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
- นายอดิเทพ แบบเหมือน รหัสนักศึกษา 6510110510 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ทีม T034 Lazy ToPatch
- นางสาวกิ่งดาว ขนานขาว รหัสนักศึกษา 6510110035 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายศิวกร น้อยหรำ รหัสนักศึกษา 6510110465 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายกรวิชญ์ คงคล้าย รหัสนักศึกษา 6710110006 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายเพชรฌานันท์ สุวรรณรักษ์ รหัสนักศึกษา 6710110298 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
อาจารย์ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ
ประกาศทีมที่เข้ารอบรองชนะเลิศ (Hackathon) 30 ทีมสุดท้าย ผ่านเว็บไซต์ https://cyberwarrior2025.io/announcement-hackathon
รายละเอียดกิจกรรม
กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภาคเอกชน อาทิ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด หรือ AIS, มูลนิธิพระราหู, บริษัท Security pitch จำกัด และหน่วยงานอื่นๆ ได้ร่วมกันเปิดโครงการ Cyber Warrior Hackathon 2025 ณ ห้องฟีนิกซ์ 1-6 อาคารศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยโครงการดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 มิ.ย. – 21 ก.ค.68
โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแข่งขันด้านการเขียนโปรแกรมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับนักศึกษาทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “นักรบไซเบอร์” รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการรับมือภัยคุกคามในยุคดิจิทัล ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับภารกิจจริงของตำรวจไซเบอร์
พร้อมทั้งยกระดับทักษะและความรู้ในด้านนี้ และปลูกฝังความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ให้แก่เยาวชนไทย
อีกทั้ง ยังเป็นการเชื่อมโยงกลุ่มนักศึกษากับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์ สร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต และโครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างรากฐานที่ยั่งยืนให้กับสังคมและประเทศ และยังส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล เพื่อมีส่วนร่วมในการปกป้องประเทศจากภัยคุกคามไซเบอร์
สำหรับกิจกรรมสำคัญในโครงการ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
– Cyber Crime Talk: การบรรยายพิเศษโดยตำรวจไซเบอร์ พร้อมกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของอาชญากรรมไซเบอร์ในปัจจุบัน
– Cyber Crime Workshops: กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะด้านการสืบสวนดิจิทัล เช่น Digital Forensics, Blockchain Analysis และ OSINT Investigation โดยใช้ทั้งเครื่องมือโอเพนซอร์ส
และเครื่องมือพิเศษเฉพาะทาง
– Cyber Warrior Hackathon: การแข่งขันแบบทีม ระยะเวลา 3 วันเต็ม ระหว่างวันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องประชุมพินิจวิทัศน์ ชั้น 14 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยเน้นการพัฒนาแนวทางหรือโปรแกรมที่ใช้ในการตรวจจับ สืบสวน และป้องกันภัยไซเบอร์
ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมตามหลักสูตรด้าน Cybersecurity พร้อมใบประกาศนียบัตร Non-Degree จากความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มจธ. และตำรวจไซเบอร์ อีกทั้งยังได้รับสถานะเป็นอาสาสมัคร “Cyber Eyes” ในเครือข่ายของ บช.สอท. และเป็นสมาชิกในระบบ “oneKMUTT” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัย
ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันมีสิทธิ์เข้าร่วมฝึกประสบการณ์ทำงานจริงกับตำรวจไซเบอร์ รวมถึงประกาศนียบัตร Cyber Warrior พร้อมโอกาสต่อยอดผลงานสู่งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน และมีโอกาสชิงเงินรางวัล รวมมูลค่ากว่า 260,000 บาท
โดยรายละเอียดของรางวัลมีดังนี้:
- รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 100,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 50,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 30,000 บาท
- รางวัลชมเชย จำนวน 7 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 70,000 บาท
โดยการแข่งขันในปีนี้ได้รับความสนใจจากเยาวชนทั่วประเทศ มีนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันถึง 520 คน จาก 36 สถาบัน รวมทั้งสิ้น จำนวน 110 ทีม
ภายหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมจะได้นำเสนอข้อเสนอโครงการเพื่อลุ้นเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศของการแข่งขัน Hackathon โดย 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จะได้ขึ้นเวทีนำเสนอผลงานในวัน Pitching Day ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.00–18.30 น. ณ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังด้วย